สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
+(043) 019 762 kalasin.area3@gmail.com
หน้าแรก e-News เข้าสู่ระบบ
 

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ประกอบชุดฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

โพสต์เมื่อ : 18 พ.ย. 2564 เวลา 16:14 น. IP: 183.88.158.68
แชร์ให้เพื่อน

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ประกอบชุดฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

 

ชื่อเรื่อง      การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ประกอบชุดฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 

ผู้วิจัย             นางติรยา  นามวงษ์  ตำแหน่ง  ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

สถานศึกษา      โรงเรียนบ้านดินจี่  อำเภอคำม่วง  จังหวัดกาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาในการเรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณ (2) พัฒนารูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณ ประกอบชุดฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (3) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณ ประกอบชุดฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ(4) ประเมินรูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณ ประกอบชุดฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย  คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนบ้านดินจี่  อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 22 คน ซึ่งได้จากวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) รูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณ ประกอบชุดฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ และ (4) แบบประเมินรูปแบบการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบที แบบไม่อิสระ  และการวิเคราะห์เนื้อหา

           ผลการวิจัยพบว่า

               1. รูปแบบการสอนนี้มีชื่อเรียกว่า “PACE MODEL” โดยมีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระหลัก สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอนคือ (1) ขั้นเตรียมการ (2) ขั้นวิเคราะห์ปัญหา (3) ขั้นเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา (4) ขั้นตรวจสอบผลลัพธ์จากการแก้ปัญหา และ (5) ขั้นประเมินผล รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.74/81.36 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6925

               2. นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

               3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด

               4. ผลการประเมินรูปแบบการสอน โดยภาพรวมมีคุณภาพเหมาะสมมากที่สุด

เนื้อหาหมวดเดียวกัน


การใช้และพัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้รูปบาร์โมเดล (Bar Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

[ 1444]

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ประกอบชุดฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

[ 2878]

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่

[ 2061]

การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาครูสู่ NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนบ้าน

[ 1073]

การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่ง

[ 867]