สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
+(043) 019 762 kalasin.area3@gmail.com
หน้าแรก e-News เข้าสู่ระบบ
 

การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่ง

โพสต์เมื่อ : 3 มิ.ย. 2564 เวลา 11:56 น. IP: 110.49.114.190
แชร์ให้เพื่อน

บทคัดย่อ การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 เพื่อศึกษาการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) ก่อนและหลังการวิจัย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย อยู่ในบริบทพื้นที่บริการโรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง โดยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแยกเป็นกลุ่มเป้าหมาย คือ 1) ครู จำนวน 5 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- 6 จำนวน 25 คน และ4) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- 6 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) แบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ที่มีต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียน

เรื่อง              การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู

เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน)

โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561

ผู้วิจัย             นายนิกร เชยชมศรี

 

บทคัดย่อ

           การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 เพื่อศึกษาการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง            ปีการศึกษา 2561 เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานของครูเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) ก่อนและหลังการวิจัย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย อยู่ในบริบทพื้นที่บริการโรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง โดยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแยกเป็นกลุ่มเป้าหมาย คือ 1) ครู จำนวน 5 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- 6 จำนวน 25 คน และ4) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- 6 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) แบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ที่มีต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียน

           สรุปผลการวิจัย

           1. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.65  S.D. = 0.24) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ข้อ 1 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการวางแผน และ ข้อ 2 การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (  = 4.68 S.D. = 0.11) รองลงมา คือ ข้อ 4 การมีส่วนร่วมในการประเมินผล ( = 4.64  S.D. = 0.43) และ ข้อ 3 การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ( = 4.60 S.D. = 0.32) ตามลำดับเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1

           2. การบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.71 S.D. = 0.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ข้อ 4) ครูที่ปรึกษาปฏิบัติงานด้วยความสุขและยินดีให้ความร่วมมือในการพัฒนาระบบช่วยเหลือนักเรียน ข้อ 11) ครูมีการปฏิบัติงานจัด-ซื้อวัสดุอุปกรณ์สำนักงานอย่างพอเพียง ข้อ 16) ครูปฏิบัติงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีโครงสร้างการทำงานอย่างเป็นระบบ  ข้อ 18) ครูปฏิบัติงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีการวางแผนปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ ดำเนินการงานตามแผนและติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และ ข้อ 20) ครูกลุ่มบริหารงานกิจกรรมนักเรียนปฏิบัติงานได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกเป็นอย่างดี เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ ( = 5.00 S.D. = 0.00)  ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อ 15) ครูมีการปฏิบัติงานการบันทึกข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Scan Tool 3 และข้อ 19 ครูที่ปรึกษาปฏิบัติงานให้ความร่วมมือในการจัดทำ SAR ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ ( = 4.40  S.D. = 0.55) ตามลำดับ เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2

           จะเห็นได้ว่า การบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) จะสะท้อนถึงการปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพจริง

           3. การปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) ที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง             ปีการศึกษา 2561 พบว่า ก่อนการวิจัยการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.36 S.D. = 0.29) และหลังการวิจัย อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.62 S.D. = 0.42) และเมื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้ t-test พบว่า หลังการวิจัยสูงกว่าก่อนการวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3 นั่นแสดงว่า การปฏิบัติงานของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน ด้านโครงสร้างงาน และ ด้านผลผลิตและบริการที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 มีผลต่อการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ครูมีความภูมิใจ มีแรงบันดาลใจ เห็นคุณค่าผู้เรียนเป็นสำคัญว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าเพื่อความเจริญของชุมชน สังคม ประเทศชาติ เกิดประสิทธิผลต่อผู้เรียนเห็นประโยชน์และคุณค่าของตนเอง นำตนเองสู่การมีความพร้อมในการดำเนินชีวิตสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

           4. ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 พบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง ที่มีต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 4 นั่นแสดงว่า ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพชีวิต เกิดผลสะท้อนเชิงคุณภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียนอย่างเชิงประจักษ์ คือ นักเรียนมีความพึงพอใจในด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และเมื่อพิจารณาความพึงพอใจจากประชากรกลุ่มเป้าหมายแยกเป็นรายกลุ่ม ดังนี้

                   4.1 ความพึงพอใจของผู้เรียน ที่มีต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียน ที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.82 S.D. = 0.18) และเมื่อวิเคราะห์แยกเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

                   4.2 ความพึงพอใจของครู ที่มีต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียน ที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง ปีการศึกษา 2561 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.85 S.D. = 0.09) และเมื่อวิเคราะห์แยกเป็นรายด้าน พบว่า ครูมีความพึงพอใจในอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน นั่นแสดงว่า ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพชีวิต เกิดผลสะท้อนเชิงคุณภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียนอย่างเชิงประจักษ์ คือ ครูมีความพึงพอใจในด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

                   4.3 ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียน    ที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่งมนบะเอียดราษฎร์บำรุง                       ปีการศึกษา 2561 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.57  S.D. = 0.17) และเมื่อวิเคราะห์แยกเป็นรายด้าน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจในอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน นั่นแสดงว่า ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพชีวิต เกิดผลสะท้อนเชิงคุณภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้เรียนอย่างเชิงประจักษ์ คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจในด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

 

เนื้อหาหมวดเดียวกัน


การใช้และพัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้รูปบาร์โมเดล (Bar Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

[ 2025]

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ประกอบชุดฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

[ 3436]

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับแผนผังมโนทัศน์ วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่

[ 2354]

การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาครูสู่ NRD8H MODEL ที่มีผลต่อคุณภาพโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนบ้าน

[ 1343]

การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการบริหารจัดการในการปฏิบัติงานของครู เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน (ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) โรงเรียนทุ่ง

[ 1105]