สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
+(043) 019 762 kalasin.area3@gmail.com
หน้าแรก e-News เข้าสู่ระบบ
 

"การพัฒนาสถานศึกษาสืบสานน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน ด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชี

โพสต์เมื่อ : 5 เม.ย. 2564 เวลา 18:31 น. IP: 182.232.45.137
แชร์ให้เพื่อน

 เรื่อง  การพัฒนาสถานศึกษาสืบสานน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน 

ด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  (Professional Learning Community : PLC
ผู้วิจัย นางสาวเทียนทอง  ดีรักษา
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร
ปีที่ทำการวิจัย  พ.ศ.๒๕๖๓
บทคัดย่อ
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ คือ กระบวนการในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนร่วมกันในเชิงวิชาชีพระหว่างครูผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน การพัฒนาบทเรียนร่วมกันเป็นแนวทางที่ดีแนวทางหนึ่งในการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา โดยการนำกระบวนการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มาใช้ในการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน ได้แก่ ขั้นวิเคราะห์ (Analysis) ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นลงมือและสังเกตผลการปฏิบัติ (Do and See) ขั้นสะท้อนผล (Reflect) และขั้นตอนการปรับปรุงใหม่ (Redesign) ซึ่งจะสามารถพัฒนาทั้งสมรรถนะของผู้สอน และผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC ให้แก่สถานศึกษาในเครือข่ายของโรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้เรียน ชุมชน ๒) จัดทำแผนและแนวทางการขับเคลื่อน PLC สู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษา และชุมชน ๓) ติดตามประเมินผลและสะท้อนผลการดำเนินการ PLC ของโรงเรียนในเครือข่ายและชุมชน และ ๔) ให้ผู้เรียนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเนื้อหาที่ใช้จะเกี่ยวกับเรื่องศาสตร์พระราชา, หลักการทรงงาน ๒๓ ข้อ, จุลินทรีย์ตัวน้อย และทฤษฎีใหม่ของพ่อ โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านบทอาขยาน ฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำให้ถูกต้อง การเว้นวรรค การถอดความจากเรื่องที่อ่าน แล้วนำไปสู่การลงมือปฏิบัติ เช่น การทำน้ำยาอเนกประสงค์ เพื่อลดรายจ่าย ลดการใช้สารเคมี, การทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อการทำเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น การวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงและความสมัครใจของผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่สนใจ ซึ่งมีอยู่ ๗ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร โรงเรียนนาสีนวลวิทยา โรงเรียนโคกนาดี โรงเรียนนางามวิทยา โรงเรียนคำโพนคำม่วงวิทยา โรงเรียนบ้านนากระเดา และโรงเรียนบ้านวังเวียง ครูผู้สอนทั้งหมด จำนวน ๓๐ คน และผู้เรียนจำนวน ๑๕๐ คน โดยขั้นตอนกิจกรรมที่ปฏิบัติมี ๓ วงรอบ ซึ่งมีการดำเนินการตามขั้นตอนการดำเนินงาน PLC ในสถานศึกษา ได้แก่ ขั้นตอนที่ ๑ การสร้างทีม ขั้นตอนที่ ๒ การกำหนดปัญหาที่แท้จริง ขั้นตอนที่ ๓ การวางแผนและออกแบบกระบวนการ ขั้นตอนที่ ๔ การลงมือปฏิบัติจริงตามแผนที่ทีมได้คิดกันมาอย่างดีแล้ว ขั้นตอนที่ ๕ การสนทนาสะท้อนผลหลังการปฏิบัติ โดยในวงรอบที่ ๒ และ ๓ ก็จะทำซ้ำวนมาที่ขั้นตอนที่ ๓-๕ จนกว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างครอบคลุมและสมบูรณ์มากที่สุด ผลการวิจัยพบว่า ๑) สถานศึกษาในเครือข่ายสามารถดำเนินกระบวนการ PLC โดยมีโรงเรียนหินลาดนารายณ์สารเป็นพี่เลี้ยงที่คอยให้คำแนะนำในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒) ครูผู้สอนสามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และขับเคลื่อน PLC สู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษา และชุมชน อีกทั้งยังมีการบูรณาการส่วนราชการและการมีส่วนร่วมของชุมชนได้เป็นอย่างดี ๓) การติดตามประเมินผลและสะท้อนผลการดำเนินการ PLC ของโรงเรียนในเครือข่าย พบว่า ทุกโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนที่วางแผนร่วมกันไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์กับผู้เรียนของตน และ ๔) ผู้เรียนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยการรู้จักการใช้ชีวิตแบบพอเพียง รู้จักการเก็บออมเงิน ทำบัญชีรายรับรายจ่าย การทำน้ำยาอเนกประสงค์เพื่อลดรายจ่าย ลดการใช้สารเคมีในครัวเรือน ส่งผลให้โรงเรียนและชุมชนอยู่รอด (Survival) พึ่งตนเอง (Self-reliance) และยั่งยืน (Sustainable)

คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ