สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
+(043) 019 762 kalasin.area3@gmail.com
หน้าแรก e-News เข้าสู่ระบบ
 

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษ

โพสต์เมื่อ : 2 ส.ค. 2567 เวลา 09:54 น. IP: 119.42.124.79
แชร์ให้เพื่อน

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ปีการศึกษา 2566

 

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC)เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ

โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ปีการศึกษา 2566

 

 

 

 

 

 

 

 

นายนพพร พรมแพง

        ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3

บทคัดย่อ

           การวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ปีการศึกษา 2566 เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method) และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ปีการศึกษา 2566 เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของสมรรถนะระดับการปฏิบัติงานครู ที่เกิดจากปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ปีการศึกษา 2566 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยอยู่ในบริบทโรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ชุมชนตำบลจุมจัง อำเภอกุฉินารายณ์ ในปีการศึกษา 2566 โดยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแยกเป็นกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ ครู จำนวน 10 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 94 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 10 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 94 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ปีการศึกษา 2566 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของสมรรถนะระดับการปฏิบัติงานครูที่เกิดจากปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ปีการศึกษา 2566 และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจของของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา      

 

สรุปผลการวิจัย

           1. ผลการศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ปีการศึกษา 2566 พบว่า ครูเห็นด้วยกับรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ปีการศึกษา 2566 มีระดับปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ  4.84 และค่า (S.D) เท่ากับ 0.12  เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่า ทุกปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ข้อ 1.ปัจจัยผู้บริหารให้ครูมีการศึกษาน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วางแผนขับเคลื่อน บูรณาการการบริหารหลักสูตรบริหารจัดการเรียนรู้ วางแผนปฏิบัติงานของสถานศึกษา ข้อ 2. ผู้บริหารสนับสนุนให้ครูมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีแผนงานโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและข้อ5.ผู้บริหารใช้หลักธรรมาภิบาลและประชาธิปไตยในกระบวนการตัดสินใจร่วมกับครูเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายนโยบายระดับชาติและระดับพื้นที่ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือผู้บริหารมีกระบวนการสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการองค์ความรู้ในการดำเนินการเพื่อสร้างเป้าหมายร่วมกัน

           นั่นแสดงว่า ครูมีความเข้าใจและยอมรับวิธีการบริหารและการขับเคลื่อนพัฒนาสมรรถนะครูโดยใช้ปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) และมีความเข้าใจถึงการปฏิบัติหน้าที่ของตนในการเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้เกิดภายในโรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ และสามารถนำความรู้ความสามารถของตนออกมาใช้ เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ปีการศึกษา 2566 มีปัจจัยที่เหมาะสมที่ทำให้ครูเห็นด้วยว่ารูปแบบดังกล่าวจะทำให้เกิดการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1

           2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของสมรรถนะระดับการปฏิบัติงานครู ที่เกิดจากปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ปีการศึกษา 2566 พบว่า ความคิดเห็นสมรรถนะระดับปฏิบัติงานของครู ที่เกิดจากปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ปีการศึกษา 2566 หลังการวิจัยสูงกว่าก่อนการวิจัย นั่นแสดงว่า หลังจากผู้บริหารสถานศึกษาได้ใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ปีการศึกษา 2566 เน้นให้ครูสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เน้นการพัฒนาสมรรถนะครูทั้ง 6 ด้าน ขับเคลื่อนการปฏิบัติสู่การพัฒนาผู้เรียนด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยประเด็นหลักที่ครูได้สะท้อนความคิดเห็นในระดับการปฏิบัติงาน คือ 1) การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 2) การพัฒนาผู้เรียน 3) การบริหารจัดการชั้นเรียน  4) การวิเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน 5) ภาวะผู้นำครู และ6) การสร้างความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ ส่งผลการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และเมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบกันหลังการวิจัยครูมีระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานสูงกว่าก่อนการวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2

           3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา พบว่า ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน.ในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.65 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ  0.40 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดทุกข้อ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ข้อ1. ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้น เฉลี่ยร้อยละ 75 ขึ้นไป ข้อ2..ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นตามมาตรฐานหลักสูตรแกนกลาง.เพิ่มขึ้นมากกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา และ.ข้อ3..ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานหลักสูตรสถานศึกษากำหนด.ตามลำดับ.ซึ่งแสดงว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนใน สถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา.ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ปีการศึกษา 2566 ส่งผลให้ผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง เกิดความพึงพอใจที่มีต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3

บทนำ

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยมานานกว่า 30 ปี โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการให้การศึกษาเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนา  ดังพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่คณะครูและนักเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลฯ เมื่อวันจันทร์ที่  27  กรกฎาคม พ.ศ.2524 ความตอนหนึ่งว่า “การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด  ความประพฤติดี และคุณธรรมของบุคคล สังคมและบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชนได้อย่างครบถ้วน  ล้วนพอเหมาะกับทุก ๆ  ด้านสังคมและบ้านเมืองนั้นก็จะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถธำรงรักษาความเจริญมั่นคงของประเทศชาติไว้และพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปได้โดยตลอด” (ปรียานุช พิบูลย์สราวุธ, 2550: 1) ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ยึด หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อเนื่องมาตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อให้เกิดการบูรณาการการพัฒนาในทุกมิติอย่างสมเหตุสมผล มีความพอประมาณ และมีระบบภูมิคุ้มกันและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีซึ่งเป็นเงื่อนไขจำเป็นสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมุ่งเน้นการพัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์ สังคมไทยเป็นสังคมคุณภาพ สร้างโอกาสและมีที่ยืนให้กับทุกคนในสังคมได้ดำเนินชีวิตที่ดีมีความสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศก็เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพ และมีเสถียรภาพ การกระจายความมั่งคั่งอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เป็นการเติบโตที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ชุมชนวิถีชีวิต ค่านิยม ประเพณีและวัฒนธรรม 

           ในปีการศึกษา 2563 จากการประเมินศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ พบว่ายังไม่ได้เป็นที่พอใจตามเกณฑ์ประเมินและเกณฑ์คุณภาพสถานศึกษา แบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีประเด็นปัญหา คือ ขาดการสนับสนุน และการเป็นผู้นำร่วมกันไม่มีค่านิยม และวิสัยทัศน์ร่วมกัน ไม่มีการเรียนรู้ร่วมกัน และการประยุกต์ใช้ความรู้ ขาดกำลังใจที่จะสนับสนุน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคล ทำให้เกิดปัญหากับครูผู้สอน ในความสามารถการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ความสามารถในการพัฒนาผู้เรียน การบริหารจัดการชั้นเรียน การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัย เพื่อพัฒนาผู้เรียน ภาวะผู้นำครู การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน เพื่อการจัดการเรียนรู้ ทำให้เกิดปัญหาด้านผลลัพธ์ และภาพความสำเร็จของศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน นอกจากนี้ยังพบปัญหาครูขาดแคลนเทคนิควิธีสอน และทักษะด้านเทคโนโลยี ควรได้รับการพัฒนาด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติ ฝึกทักษะคิดวิเคราะห์ และรู้จักการตั้งคำถาม จากข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ผลักดันหลักการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ หรือ PLC นำมาพัฒนาครู ใช้เครือข่ายในสถานศึกษา และชุมชน เรียนรู้ด้วยตนเองและจากเพื่อนครู นำไปสู่การร่วมกันประเมินและแก้ปัญหาร่วมกัน หลักการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ หรือ PLC จะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาครูได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน การพัฒนาครู ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาผู้เรียน (ณรงค์ ขุ้มทอง. 2560)

           การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ประสบความสำเร็จในหลายประเทศ ต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิชาชีพ ที่มุ่งให้ครู ผู้บริหาร นักการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือรวมพลังกันพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ในรูปแบบ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)” โดยสมาชิกชุมชนวิชาชีพร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย กิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ และภารกิจการพัฒนาร่วมกัน สมาชิกรวมพลังเรียนรู้แบบกัลยาณมิตร ลงมือปฏิบัติบาฐานการทำงานจริงที่อิงพื้นที่การปฏิบัติงานมากกว่าการพัฒนาในรูปแบบอื่นที่ได้จากภายนอกห้องเรียน ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาตามแบบ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล คือ การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมทางบวก แก่ครู ผู้บริหาร นักเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็น “คนคุณภาพ” ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน คุณภาพการศึกษา และคุณภาพของประเทศในที่สุด นอกจานั้นยังก่อให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานที่คนในสถานศึกษา องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมมือเรียนรู้ในการวิพากษ์วิจารณ์ ร่วมสะท้อนคิด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกันมากขึ้น ซึ่งตรงกับแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะหรือขีดความสามารถในการทำงาน (Competency) เกิดขึ้นในช่วงต้นของศตวรรษที่ 1970 โดยนักวิชาการชื่อ แมคเคิลแลนด์ (McClelland) ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยว่าทำไมบุคลากรที่ทำงานในตำแหน่งเดียวกันจึงมีผลงานที่แตกต่างกันแมคเคิลแลนด์ (McClelland) จึงทำการศึกษาวิจัยโดยแยกบุคลากรที่มีผลการปฏิบัติงานดีออกจากบุคลากรที่มีผลการปฏิบัติงานพอใช้ แล้วจึงศึกษาว่าบุคลากรทั้ง 2 กลุ่ม มีผลการทำงานที่แตกต่างกันอย่างไร ผลการศึกษาทำให้สรุปได้ว่า บุคลากรที่มีผลการปฏิบัติงานดีจะมีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า สมรรถนะ (Competency) (จิรประภา อัครบวร, 2549: 58) ทำให้สถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา บรรลุเป้าหมาย ผลลัพธ์ และภาพความสำเร็จอย่างแท้จริง จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนต่างๆ พบว่ายังมิได้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเรื่องที่กำลังได้รับการส่งเสริมทุกหน่วยงาน ซึ่งมีสาเหตุมาจากครูขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จึงส่งผลให้การจัดการศึกษาไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ นักเรียนไม่สามารถหาแนวทางแก้ปัญหาของตนเองและท้องถิ่นโดยใช้หลักของเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ผู้เกี่ยวข้องควรร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาการจัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่นักเรียน ชุมชน สังคมและประเทศชาติต่อไป

           จากที่มาและความสำคัญของปัญหา ในปีการศึกษา 2563 ผู้วิจัยในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ จึงได้ทำวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ปีการศึกษา 2566 เพื่อวิจัยรูปแบบขององค์ประกอบของการเป็นชุมชนแห่งการนเรียนรู้ (PLC) ส่งผลถึงการพัฒนาสมรรถนะครู (Competency) ในการจัดกิจกรรมในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ที่มีผลต่อผลลัพธ์ และภาพความสำเร็จ ทำให้การดำเนินงานของครูมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล ในการปฏิบัติงานสะท้อนผลลัพธ์ในเชิงนโยบาย เชิงปฏิบัติงานนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาที่ดีได้ตามเกณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ทุกประการ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางวิชาการอย่างกว้างขวาง ต่อผู้เรียน ครู และเป็นแนวทางให้โรงเรียนอื่นที่มีบริบทคล้ายกันนำไปใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์ และที่สำคัญตอบสนองความต้องการของชุมชนในเขตพื้นที่บริการ เกิดการสร้างสรรค์ชุมชนท้องถิ่นสังคมประเทศชาติอย่างยั่งยืน ต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective)

           1. เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ปีการศึกษา 2566

           2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของสมรรถนะระดับการปฏิบัติงานครู ที่เกิดจากปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ โรงเรียนจุมจังอุปกรณ์เจริญเวทย์ ปีการศึกษา 2566

           3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ที่มีผลต่อผลลัพธ์และภาพความสำเร็จในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

           1. แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC)

เนื้อหาหมวดเดียวกัน


จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ โรงเรียนบ้านกลาง ฉบับที่ ๔๐/๒๕๖๗ ประจำวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๗

[ 34]

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครู โดยใช้ปัจจัยชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) เพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในสถานศึกษาที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษ

[ 147]

:::โรงเรียนบ้านกลาง :::พิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

[ 38]

:::โรงเรียนบ้านกลาง :::กิจกรรมวันสุนทรภู่และวันภาษาไทยแห่งชาติ ปีการศึกษา2567

[ 42]

ถวายเทียนพรรษาผ้าอาบน้ำฝนเป็นพุทธบูชาเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาประจำปี ๒๕๖๗

[ 44]