สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
+(043) 019 762 kalasin.area3@gmail.com
หน้าแรก e-News เข้าสู่ระบบ
 

การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิ

โพสต์เมื่อ : 14 มิ.ย. 2565 เวลา 14:04 น. IP: 110.171.151.191
แชร์ให้เพื่อน

ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร ด้วยกระบวนการ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ชื่อผู้วิจัย นางสาวเทียนทอง ดีรักษา ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร 2. พัฒนากระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร ให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3. ศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษา ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาขึ้น วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนหินลาดนารายณ์สารและตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาจำนวน 4 คน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร โดยผู้เชี่ยวชาญด้านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษา ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนหินลาดนารายณ์สารจำนวน 6 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ การเก็บข้อมูล เชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์กลุ่มและการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นในระยะที่ 1 และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา Friedman Test และ Wilcoxon signed rank test และ ระยะที่ 4 การปรับปรุงกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 ความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ซึ่งมีองค์ประกอบย่อย 4 ด้าน และมีตัวบ่งชี้ 18 ข้อ และองค์ประกอบหลักที่ 2 ความสามารถในการปฏิบัติการสอนวิทยาศาสตร์เชิงรุก ซึ่งมีองค์ประกอบย่อย 6 ด้าน และมีตัวบ่งชี้ 17 ข้อ 2) กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นปฏิบัติและเรียนรู้ ในขั้นนี้ประกอบด้วยวงรอบย่อยตามปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย และขั้นสรุปผล 3) ผลการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา พบว่า หลังเข้าร่วมกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 และกลุ่มเป้าหมายมีพัฒนาการความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วมกระบวนการชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพในแต่ละวงรอบย่อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : ความสามารถในการจั?ดการเรียนรู้เชิงรุก, ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษา, กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ